HeaderNew2566N

มาตรการส่งเสริมคุณธรรมและความโปร่งใสภายในหน่วยงาน

การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร

สมาชิก

สถิติ

วันนี้ 14

เมื่อวานนี้ 17

สัปดาห์นี้ 46

เดือนนี้ 229

ทั้งหมด 22923

Currently are 2 guests and no members online

Kubik-Rubik Joomla! Extensions

ข่าวประชาสัมพันธ์

ข่าวประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่

ข่าวประชาสัมพันธ์ การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่

โรคพิษสุนัขบ้า เมื่อติดเชื้อและแสดงอาการแล้ว รักษาไม่หาย จะเสียชีวิตทุกราย ซึ่งสาเหตุของการติดเชื้อพิษสุนัขบ้าส่วนใหญ่ เกิดจากการถูกสุนัขหรือแมวกัด-ข่วน แล้วไม่ได้รักษา หรือเข้ารับฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างถูกต้อง
การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า มี 3 ขั้นตอน ดังนี้
1. ก่อนถูกกัด ใช้หลักการคาถา 5 ย. ป้องกันการถูกกัด ได้แก่“อย่าแหย่ อย่าเหยียบ อย่าแยก อย่าหยิบ อย่ายุ่ง” คือ อย่าแหย่ให้สุนัขโมโห อย่าเหยียบสุนัขหรือทำให้สุนัขตกใจ อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า อย่าหยิบชามอาหารขณะสุนัขกำลังกิน และอย่ายุ่งกับสุนัขนอกบ้านหรือที่ไม่ทราบประวัติ
2. กรณีถูกกัด ให้รีบล้างแผลด้วยสบู่และน้ำสะอาดหลายๆครั้ง ใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน และรีบไปพบแพทย์โดยทันที เพื่อรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคอย่างเหมาะสม รวมถึงกักขังสัตว์ที่กัดสังเกตอาการอย่างน้อย 10 วัน หากสัตว์ตัวนั้นมีอาการปกติแสดงว่าอาจไม่มีเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า แต่หากสุนัขหรือแมวเสียชีวิต ให้รีบแจ้งผู้นำชุมชนที่อยู่ใกล้ที่สุด และแจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่ เพื่อส่งหัวสัตว์ที่สงสัยตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าทางห้องปฏิบัติการ
3. หลังจากถูกกัด ควรรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างต่อเนื่องครบชุดตามเวลาที่แพทย์นัด
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า
หลังจากรับเชื้อและเริ่มแสดงอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ อ่อนเพลีย หรือปวดบริเวณรอยแผลที่ถูกกัด คันที่แผล ต่อมาจะมีอาการกระสับกระส่าย ไม่ชอบเสียงดัง กลัวน้ำ กลืนลำบาก และกล้ามเนื้อขากระตุก แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หรืออาจชัก เกร็ง เป็นอัมพาต หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุดข้อปฏิบัติสำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ควรนำสัตว์เลี้ยงของตนเองไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า เมื่อสัตว์เลี้ยงมีอายุ 2-3 เดือนขึ้นไป 2 เข็ม และฉีดวัคซีนเป็นประจำทุกปีๆละ 1 เข็ม และหากพบเห็นสัตว์ที่สงสัยว่าอาจเป็นโรคพิษสุนัขบ้า คือมีอาการหางตก เดินโซเซ น้ำลายย้อย ลิ้นห้อย ตาขวาง ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ หรือผู้นำชุมชนทันที
122123
124

foot33